top of page


-
รูปแบบการเข้าโปรแกรมเป็นแบบไหน ?กิจกรรม Online และ Offline กิจกรรมรูปแบบ Online จัดขึ้นเพื่อให้การทำงานของผู้เข้าร่วมโปรแกรมสะดวกและทำได้อย่างสม่ำเสมอ เช่น การประชุมและแลกเปลี่ยนทาง Video Call ผ่านโปรแกรม Zoom, การเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่าน Online Module, การทำงานระหว่าง Fellow และ Mentor, การแลกเปลี่ยนกันใน Community ของผู้นำการเปลี่ยนแปลง จะช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรมจากทั่วประเทศสามารถเข้าร่วมได้มากขึ้น สามารถเชื่อมต่อกับเพื่อนผู้นำคนอื่นๆ, ที่ปรึกษา มสช. และทีมงานได้สะดวกมากขึ้น โดยทีมงานได้คัดเลือกโปรแกรมที่ใช้งานง่าย และเตรียมคำแนะนำในการใช้โปรแกรมต่างๆ สำหรับผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโปรแกรมอีกด้วย ส่วนของกิจกรรมรูปแบบ Offline จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรม มสช. ที่ปรึกษา และทีมงานได้พบหน้ากัน ได้พูดคุยแลกเปลี่ยน ทำความรู้จักกันมากยิ่งขึ้น รวมถึงส่งเสริมการทำงานร่วมกันต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น วงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมโปรแกรมและที่ปรึกษา ที่จะจัดขึ้นทุกๆ 3 เดือน ตลอดโปรแกรม โดยโปรแกรมจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ที่พัก และอาหารในการมาร่วมกิจกรรมตามเงื่อนไขที่เป็นไปตามที่มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติกำหนด (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์โควิด-19 ทีมงานจะดำเนินการโดยคำนึงถึงประโยชน์และความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมทุกคนมากที่สุด)
-
ระยะเวลาของโปรแกรมเดือน พฤษภาคม 2565 - เมษายน 2566 หากผู้เข้าร่วมโปรแกรม ทำโครงการที่มีระยะเวลายาวกว่าระยะเวลาของโปรแกรม สามารถทำโครงการต่อไปได้ แต่กิจกรรมสนับสนุนอื่นๆ ในโปรแกรมจะหยุดลงก่อน
-
กำหนดการโปรแกรมสามารถดูกำหนดการโดยละเอียดของโปรแกรมได้โดย คลิกที่นี่
-
Time commitment สำหรับการเข้าร่วมโปรแกรมเป็นอย่างไร ?ให้ความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมในโปรแกรมและทำโครงการพัฒนาที่ตนเองสนใจ โดยมีเวลาอย่างน้อย 2 วัน/สัปดาห์ หรือได้รับการสนับสนุนหรือให้ความร่วมมือจากหน่วยงานต้นสังกัด และทำได้ต่อเนื่องตลอดโปรแกรม
-
โครงการพัฒนาระบบสุขภาพ ที่โปรแกรมคาดหวัง เป็นอย่างไร ?- เป็นโครงการที่ผู้เข้าร่วมโปรแกรมมีเป้าหมายและความมุ่งมั่นจะทำให้สำเร็จ - เป็นโครงการที่มีเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่อำเภอ จังหวัด เขตสุขภาพ หรือประเทศ - ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงต่อระบบสุขภาพ อาจไม่สำเร็จภายในระยะเวลาสั้นๆ ของโปรแกรมนี้ ดังนั้นโครงการของผู้เข้าร่วมโปรแกรมควรออกแบบให้เป็น Milestone สำคัญของการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถนำผลงานไปต่อยอดสู่โครงการพัฒนาอื่นๆ ต่อไปได้
-
หลังจบโปรแกรม จะเป็นอย่างไร ?- ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงต่อระบบสุขภาพ อาจไม่สำเร็จภายในระยะเวลาสั้นๆ ของโปรแกรมนี้ มสช. และทีมงาน คาดหวังว่าผู้เข้าร่วมโปรแกรมจะทำงานในประเด็นที่สนใจอย่างต่อเนื่อง และคาดหวังว่าผู้เข้าร่วมโปรแกรมจะสามารถวางแผนการทำงานอย่างต่อเนื่องหลังจบโปรแกรมไปแล้ว เช่น สามารถก่อตั้งกลไกการทำงานในประเด็นที่สนใจได้ สามารถนำไปเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานหรือองค์กรต้นสังกัดได้ เป็นต้น - มสช. และเครือข่ายผู้นำการเปลี่ยนแปลง ยินดีที่จะทำงานร่วมกับผู้เข้าร่วมโปรแกรมต่อไป สนับสนุนให้เกิดกลไกการทำงานต่อเนื่อง ค้นหาทรัพยากรสนับสนุนการทำงาน - ทีมงานจะขอติดตามผลจากการเข้าร่วมโปรแกรม โดยจะนัดหมายกับผู้เข้าร่วมโปรแกรมที่ 3 เดือน และ 6 เดือน หลังจากจบโปรแกรม
-
ผู้สมัครจำเป็นต้องมีโครงการที่สนใจทำเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพมาก่อนเข้าร่วมโปรแกรมหรือไม่ ?จำเป็น ผู้เข้าร่วมโปรแกรมจะได้พัฒนาโครงการในประเด็นที่สนใจ และนำไปสู่การวางแผนการทำงานจริง หากคุณยังไม่มีโครงการที่สนใจจะทำ ก็ยังไม่เหมาะที่จะเข้าร่วมโปรแกรมในทันที ทีมงานขอแนะนำให้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพ เพื่อทำความเข้าใจประเด็นที่สนใจ และพัฒนาแนวคิดของตนเองก่อน
-
มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโปรแกรมหรือไม่ ?โปรแกรมนี้ไม่มีการเก็บค่าใช้จ่ายในการสมัครและเข้าร่วมโปรแกรม การดำเนินการได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
-
กระบวนการพิจารณาใบสมัครเป็นอย่างไร ?1. พิจารณาใบสมัครตามลำดับการสมัครก่อน-หลัง 2. ทีมงานโปรแกรมพิจารณาใบสมัคร ทุกวันที่ 7 ของเดือน คุณส่งใบสมัครก่อนวันที่ 7 ของเดือน ใบสมัครของคุณจะได้รับการพิจารณาช่วงวันที่ 7 ของเดือนนี้ หากคุณส่งใบสมัคร ในวันที่ 7 หรือหลังจากนั้น ใบสมัครของคุณจะได้รับการพิจารณา ในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
-
พิจารณาใบสมัครอย่างไร ?พิจารณาใบสมัครจาก… 1. ความครบถ้วนของข้อมูล 2. ความเข้าใจ สามารถอ่านแล้วเข้าใจว่าผู้สมัครสื่อสารอะไร 3. ประเด็นที่สนใจและแนวคิดการสร้างการเปลี่ยนแปลง สามารถเชื่อมโยงไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบได้ 4. เป้าหมายของผู้สมัครต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงระดับใด
-
ทราบผลการสมัครได้อย่างไร ?ทีมงานจะแจ้งผลการพิจารณาใบสมัครทั้งผ่าน และไม่ผ่าน ให้กับผู้สมัครทุกคนทาง e-mail ที่คุณให้ไว้ในใบสมัคร ภายใน 2 สัปดาห์ จากวันที่พิจารณาใบสมัคร
bottom of page