top of page
GS_D1.jpg
LOGO-02.png

โปรแกรมพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพ

logo.png

*พิจารณาใบสมัครทุกวันที่ 7 ของทุกเดือน

Frame (1).png
Frame.png

Positive Health Disruptor

โปรแกรมพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพ

โปรแกรมพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงระบบสุขภาพ

เป็นพื้นที่เสริมสร้างทักษะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และกระตุ้นให้เกิดโครงการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยทำงานร่วมกันในรูปแบบ Fellowship

ผู้เข้าร่วมโปรแกรมจะได้รับการสนับสนุนให้ทำโครงการเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพ ได้รับคำปรึกษาจาก มสช. และเครือข่าย Mentor

เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้นำการเปลี่ยนแปลง รวมถึงโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนสนับสนุนโครงการให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง

Icon_01-06.png
Benefit ที่จะได้รับ
จากการเข้าร่วมโปรแกรม
1.png

พัฒนาแนวคิด
โครงการสร้างการ
เปลี่ยนแปลงในระบบสุขภาพ

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ มสช.

และที่ปรึกษา รับฟังมุมมองใหม่ๆ ค้นหาโอกาสและการสนับสนุนให้เกิด

การเปลี่ยนแปลงขึ้นจริง

2.png

เพื่อนร่วมเส้นทาง
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

เรียนรู้และแชร์ประสบการณ์กับ
เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในโปรแกรม

ที่กำลังลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลง

ในระบบสุขภาพไปด้วยกัน

3.png

Mentorship ผู้รับฟัง
และชวนคิดเพื่อพัฒนาความ
เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

นำเสนอและรับคำปรึกษาจาก Mentor

ผู้มีประสบการณ์สร้างการเปลี่ยนแปลง

และพัฒนาระบบสุขภาพที่จะมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ชวนคิดและถอดบทเรียน

เพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้เข้าร่วมโปรแกรม

4.png

การสนับสนุน
ให้ลงมือทำโครงการ
ได้ตามเป้าหมาย

สนับสนุนให้คุณสร้างการเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จตามเป้าหมาย ได้แก่ เข้าถึงผู้มีส่วนได้เสียใน ประเด็นที่คุณสนใจ, เข้าถึงความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพ, เข้าถึงเครือข่าย

ภาครัฐ วิชาการ และเอกชน-ประชาสังคมเพื่อร่วมกันสร้างการเปลี่ยนแปลง

5.png

เข้าถึงเงินทุน
สนับสนุนการพัฒนา
ระบบสุขภาพ

ทำงานร่วมกับ มสช. เพื่อหาโอกาสนำเสนอโครงการกับแหล่งทุนที่สนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ (แหล่งทุนภายนอก มสช.)

และที่ปรึกษาจาก มสช. เพื่อให้คุณบริหารจัดการโครงการที่ได้เงินทุนสนับสนุนให้ทำงานได้ตามแผนที่วางไว้

ทักษะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ในโปรแกรม Positive Health Disruptor
คุณจะได้พัฒนา 3 Competency สำคัญของผู้นำการเปลี่ยนแปลง

การคิดเชิงระบบ
และการคิดเชิงกลยุทธ์
(Systems thinking
and strategic thinking)

Icon_01-07.png

การสื่อสาร
เพื่อการเปลี่ยนแปลง
(Storytelling for change)

 

Icon_01-06.png

การลงมือทำให้สำเร็จ (Execution)

 

Icon_01-08.png
รายละเอียดของโปรแกรม
Untitled-2-01.png

1. เรียนรู้แนวคิดผู้นำการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาโครงการพัฒนาระบบสุขภาพ

เป็นช่วงที่ผู้เข้าร่วมโปรแกรมจะได้พัฒนาแนวคิดการพัฒนาระบบสุขภาพและโครงการที่จะทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยแลกเปลี่ยนแนวคิดและมุมมองร่วมกับ มสช. และที่ปรึกษา (Mentor)

คุณจะได้อะไรจากโปรแกรมในช่วงนี้

ผู้เข้าร่วมโปรแกรมได้ พัฒนาแนวคิดโครงการพัฒนาระบบสุขภาพที่สนใจ
โดยสามารถตอบคำถามสำคัญ ได้แก่

  • ผลลัพธ์ของระบบที่ดีที่ต้องการเป็นอย่างไร?  โครงการที่จะทำมีโอกาสอย่างไร และปัญหาอุปสรรคที่พบจะผ่านไปได้อย่างไร?

  • ใครเป็นผู้มีส่วนได้เสียสำคัญบ้าง จะมีส่วนร่วมอย่างไร? จะทำให้ผู้มีส่วนได้เสียเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร?

  • โครงการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายเป็นอย่างไร และวางแผนการทำงาน เพื่อเริ่มทำโครงการสร้างการเปลี่ยนแปลง

 

ผู้เข้าร่วมโปรแกรมได้พัฒนาทักษะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

  • การคิดเชิงระบบ วิเคราะห์และตั้งเป้าหมายเพื่อลงมือสร้างการเปลี่ยนแปลง

  • การสื่อสารให้ผู้อื่นรู้สึกถึงความสำคัญร่วมกัน และให้ความร่วมมือเพื่อการเปลี่ยนแปลง

  • วางแผนการลงมือทำ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

ผลการทำงานในช่วงนี้ของผู้เข้าร่วมโปรแกรม

  • เอกสารสรุปแนวคิดการพัฒนาระบบสุขภาพ (Executive Summary)

  • เอกสารข้อเสนอโครงการ (Proposals)

กิจกรรม Online ผสม Offline
เปิดโอกาสให้เข้าร่วมโปรแกรมได้สะดวกยิ่งขึ้น

ผสมผสานจุดแข็งเพื่อให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรม

สะดวกยิ่งขึ้น มีโอกาสได้รู้จักกัน เข้าใจกันมากขึ้น

และปลอดภัยจากสถานการณ์โควิด-19
 

Frame (2).png
ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญในระบบสุขภาพ

ประเด็นพัฒนาและขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบสุขภาพเหล่านี้ เป็นตัวอย่างโอกาสที่ต้องการผู้นำการเปลี่ยนแปลง

หากคุณสนใจพัฒนาระบบสุขภาพเรื่องอื่นๆ สามารถสมัครเข้าร่วมโปรแกรมได้เช่นกัน

Oral Health

พัฒนานโยบายและระบบสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพช่องปากที่ดี ทั้งการป้องกันโรค สร้างเสริมสุขภาพช่องปาก การเข้าถึงบริการทันตกรรม กำลังคนในระบบบริการ เป็นต้น

Icon_01-06.png

NCDs

พัฒนานโยบายและระบบสุขภาพ เพื่อป้องกัน ควบคุมโรค และปัจจัยเสี่ยงจากโรค NCDs โอกาสในการทำงานพัฒนา เช่น นโยบายสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร (Workplace Policy), การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลด้านสุขภาพที่ครอบคลุมปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค และจัดการปัญหา NCDs เป็นต้น

Icon_11.png

Aging Society

Icon_01-07.png

พัฒนานโยบายและระบบสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ระบบริการสุขภาพและการดำเนินชีวิตเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โอกาสในการพัฒนา เช่น ประเด็นการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้สูงอายุ, ระบบบริการผู้สูงอายุด้อยโอกาส หรืออาศัยในพื้นที่ห่างไกล เป็นต้น

Health Justice

พัฒนานโยบายและระบบสุขภาพอย่างเท่าเทียมสำหรับคนทุกกลุ่ม ลดความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคม

Icon_01-08.png

Mental Health

พัฒนานโยบายและระบบสุขภาพสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดี โอกาสในการพัฒนา เช่น ปัญหาสุขภาพจิตวัยทำงาน, สุขภาพจิตวัยรุ่น การควบคุมและลดปัจจัยเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต การพัฒนาระบบบริการและการเข้าถึงบริการ การเข้าถึงบริการสุขภาพจิตสำหรับผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น

Icon_01-09.png

Digital Health

การพัฒนานโยบายและระบบสุขภาพให้สามารถนำข้อมูลมาใช้พัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ การเข้าถึงข้อมูล และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าระบบ โอกาสในการพัฒนา เช่น ระบบข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล, การเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ, การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในงานระบบข้อมูล เป็นต้น

Icon_01-10.png
Group (3)_edited_edited.png
Group (4).png
รายละเอียดการสมัครเข้าร่วมโปรแกรม

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. เป็นบุคลากรที่ทำงานพัฒนาระบบสุขภาพ ผลักดันนโยบายระบบสุขภาพ มีความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพและมีมุมมองเชิงระบบ
     

  2. ​มีประเด็นเชิงระบบหรือเชิงนโยบายระบบสุขภาพที่สนใจ พร้อมนำเสนอเพื่อสมัครเข้าร่วมโปรแกรม
     

  3. มีความมุ่งมั่นที่จะลงมือทำโครงการพัฒนาหรือขับเคลื่อนนโยบายระบบสุขภาพ มีเป้าหมายสร้างการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ เขต หรือจังหวัด
     

  4. ได้รับอนุญาตและการสนับสนุนจากต้นสังกัด ให้เข้าร่วมโปรแกรม,
    ทำโครงการพัฒนาระบบ ขับเคลื่อนนโยบายระบบสุขภาพ และมีทีมงานสนับสนุนการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย

Group (1).png

ความคาดหวัง
ในการเข้าร่วมโปรแกรม

Frame (9).png

วิธีการสมัคร

Frame (10).png
Frame_edited.png

ให้ความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมในโปรแกรม และ ทำโครงการพัฒนาที่ตนเองสนใจ
มีเวลาอย่างน้อย 2 วัน/สัปดาห์ หรือได้รับการสนับสนุน หรือให้ความร่วมมือจากหน่วยงานต้นสังกัด และทำได้ต่อเนื่องตลอดโปรแกรม

มีความมุ่งมั่นที่จะทำโครงการให้บรรลุเป้าหมาย
ทำการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง พร้อมเรียนรู้จากปัญหาที่เจอ เปิดกว้างที่จะสำรวจความเป็นไปได้ใหม่ๆ เปิดรับมุมมองใหม่ ทดลองทำงานด้วยวิธีการใหม่ที่จะได้พบในโปรแกรม

สามารถทำโครงการที่สอดคล้องกับงาน หรือ ภารกิจของหน่วยงานต้นสังกัดได้
โปรแกรมยินดีและสนับสนุนให้โครงการที่ทำ สามารถนำไปต่อยอดและเป็นประโยชน์ กับหน่วยงานต้นสังกัดได้ด้วย

สื่อสารและรับฟังกันอย่างสม่ำเสมอ
ผู้เข้าร่วมโปรแกรม Mentor มสช. และทีมงาน สื่อสารและรับฟังกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์และความต้องการของกันและกัน รวมถึงสามารถปรับการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมายได้

หากต้องการหยุดพัก หรือหยุดเข้าร่วมโปรแกรมสามารถสื่อสารได้ทันที
โปรแกรมนี้เป็นเพื่อนร่วมเส้นทางสร้างการเปลี่ยนแปลงของผู้เข้าร่วมโปรแกรม ระหว่างทางหากต้องการหยุดพัก หรือหยุดเข้าร่วมโปรแกรม สามารถสื่อสารกันได้ทันที ขอให้อย่าขาดการติดต่อไป ทีมงาน และมสช. ยินดีรับฟังและพร้อมจะปรับการทำงานให้เหมาะสมกันเสมอ

1.   กรอก “ใบสมัครเข้าร่วมโปรแกรม" ทางแบบฟอร์มออนไลน์ พร้อมแนบข้อมูลประกอบการสมัคร

2.   สามารถสมัครเข้าร่วมโปรแกรมได้ตลอดช่วงเวลาโปรแกรม
ตั้งแต่
วันนี้ จนถึง 7 ตุลาคม 2565

3.   มสช. และทีมงานพิจารณาใบสมัคร และแจ้งผลกับผู้สมัคร

4.   ผู้ที่ผ่านการพิจารณาเป็นผู้เข้าร่วมโปรแกรม ทีมงานจะนัดหมาย เพื่อเข้าร่วมการประชุมพัฒนาแนวคิดโครงการ เดือนละ 1 ครั้ง ต่อเนื่องกัน 3 ครั้ง 

5.   ผู้เข้าร่วมโปรแกรมนำเสนอแนวคิดโครงการ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ มสช. และMentor โดยนำประเด็นที่ได้ไปพัฒนาโครงการและทำข้อเสนอโครงการ, แผนการทำงาน เพื่อนำเสนอ

6.   ผู้เข้าร่วมโปรแกรมนำเสนอโครงการกับ มสช. และ Mentor เพื่อพิจารณาการเป็น Fellow ที่จะได้รับการสนับสนุนในการลงมือทำโครงการ และทำงานร่วมกับโปรแกรม และ มสช. ในระยะยาว

Group.png
Mask group.png
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง และโครงการพัฒนาระบบสุขภาพในเครือข่าย
33.png

พัฒนาระบบบริการ Primary care
ทำโครงการพัฒนาผู้ประสานออกแบบบริการสุขภาพ (ผอบ.)
ที่ รพ.ยะรัง อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ส่งเสริมและกระตุ้นพลังบวกให้บุคลากรในหน่วยปฐมภูมิ รวมถึงเสริมทักษะการประสานงานและการออกแบบเพื่อให้บุคลากรในหน่วยปฐมภูมิสามารถดูแลประชาชนในพื้นที่ได้ตรงกับความต้องการมากยิ่งขึ้น

นพ.มูหาหมัดอาลี กระโด

แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน โรงพยาบาลยะรัง จังหวัดปัตตานี

โปรแกรม Positive Health Disruptor เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มของ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) และให้ทุนสนับสนุนการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562  ดำเนินงาน โดย บริษัท RISE IMPACT

Draft 2-web-26.png

มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.)

มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมการสร้างสังคมบนฐานความรู้เพื่อสุขภาพ (Knowledge -based Society for Health)

ผ่านภารกิจ 3 ด้าน คือ การจัดการงานวิจัย การจัดการความรู้ และการสื่อสารที่ผ่านมา มสช. ได้ดำเนินการสนับสนุนการประชุมและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ได้ข้อยุตินโยบายสำคัญๆที่มีผลต่อการพัฒนาสาธารณสุขของชาติ สนับสนุนให้เกิดการตระหนักถึงความสำคัญในการใช้วิจัยสาธารณสุขเพื่อพัฒนาระบบงานและบริการสาธารณสุข รวมไปถึงการส่งเสริมและฝึกอบรมให้เกิดผู้เชี่ยวชาญในด้านเสริมสร้างสุขภาพดีถ้วนหน้า ทั้งในและนอกประเทศ โดยมีลักษณะการดำเนินการเป็นเครือข่ายร่วมกับองค์กรอื่นเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นหลัก

RISE LOGO-01-01.png

RISE IMPACT

บริษัทที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบในสังคม ให้บริการพัฒนานวัตกรรมและทดลองโมเดลการทำงานใหม่ๆ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง รวมถึงให้คำปรึกษาและพัฒนานวัตกรรมกับผู้ประกอบการเพื่อสังคมรุ่นใหม่
บริษัท ไรซ์ อิมแพค จำกัด มีโอกาสร่วมกับมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ พัฒนา บริหารจัดการ และถอดบทเรียนโปรแกรม Positive Health Disruptor เพื่อสร้างพื้นที่สำหรับผู้นำการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ที่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง

Positive Health Disruptor

ติดต่อสอบถาม

Frame (11).png
Frame (12).png
Frame (13).png
bottom of page